วันที่ 26 มิถุนายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (สกชย.) โดย พ.ต.ท.พิทักษ์ เริงพิทักษ์ หัวหน้าฝ่ายประสานการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ สกชย. เดินทางไปยังท่าเรือน้ำลึก จังหวัดภูเก็ต เพื่อสังเกตการณ์การฝึกซ้อมการติดต่อสื่อสาร (Communication Exercise) ระหว่างเรือตรวจการณ์ อากาศยานของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) และเรือสำราญ Genting Dream 

โดย สกชย. พร้อมคณะฯ ร่วมกับนาวาเอกโสภณ ตั้งวิทย์โมไนย หัวหน้าศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือ จังหวัดภูเก็ต ศรชล. ภาค 3 และนาวาตรี กีรติ ภาณุพิจารย์ ผู้บังคับการเรือหลวงหัวหิน เข้าหารือร่วมกัน
และสังเกตการณ์การฝึกซ้อมการติดต่อสื่อสารบนเรือตรวจการปืน เรือหลวงหัวหิน ต.541การฝึกซ้อม
การติดต่อสื่อสารเริ่มจากเรือหลวงหัวหินเดินทางจากท่าเรือน้ำลึก จังหวัดภูเก็ต ออกไประยะทางประมาณ 10 ไมล์ทะเล เพื่อไปยังจุดนัดพบเรือสำราญ Genting Dream และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Sikorsky S-76B ทำการ ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การฝึกซ้อมฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยในการติดต่อสื่อสาร การประสานงานแจ้งเหตุฉุกเฉิน และเสริมสร้างเชื่อมั่นให้กับเรือโดยสารที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเป็นประจำ หากเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อร้องขอความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งเป็นการสร้างความพร้อมในการเข้าถึงแผนความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการด้านการค้นหาและช่วยเหลือและเรือโดยสาร (Plan for Cooperation between Search and Rescue Services and Passenger Ship) เพื่อสนับสนุนการประสานงานในการให้บริการค้นหาและช่วยเหลือที่เหมาะสม และเป็นการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่อง (Corrective Action Plan : CAP) ของ สกชย. เพื่อการแก้ไขข้อบกพร่องที่ต้องปรับปรุง (Findings) 
ซึ่งประเทศไทยได้รับจากผลการตรวจประเมินโครงการตรวจสอบประเทศสมาชิกองค์การทางทะเลระหว่างประเทศภาคบังคับ (IMSAS) ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO)