สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) และ สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (สกชย.) ได้มีการประชุมหารือแนวทางปฏิบัติภารกิจการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย ในวันพุธที่ 6 มีนาคม 2567 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ห้องประชุมบุณฑริก (A601) ชั้น 6 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา สพฉ.
สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (สกชย.) โดย นายพัลลภ สังข์ศิลป์เลิศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย พร้อมด้วย พันตำรวจโทพิทักษ์ เริงพิทักษ์ หัวหน้าฝ่ายประสานการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย นางสาวนันท์ณิภัค นันทวัฒน์วงษ์ นักวิชาการขนส่งชำนาญการ รักษาราชการแทนหัวหน้าฝ่ายวิชาการและกำกับมาตรฐาน นายปฐมพงษ์ วงศ์ศักดา นักวิชาการขนส่งชำนาญการ นางสาวอวัสดา โพธิ์ประทับ นักวิชาการขนส่งปฏิบัติการ นางสาวกัญรดา รัตนปริญญา นักวิชาการขนส่งปฏิบัติการ และนายภาสวิชญ์ ศรีมุก นักวิชาการขนส่งปฏิบัติการ ได้รับเกียรติการต้อนรับและเข้าประชุมหารือร่วมกับ เรืออากาศเอก อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และคณะผู้บริหาร สพฉ. โดยการหารือสืบเนื่องมากจาก สกชย. กำลังดำเนินการจัดตั้งหน่วยค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (Search and Rescue Unit : SRU) ในระดับปฏิบัติการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขข้อบกพร่องและรองรับการตรวจสอบมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO ) ในไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2568 รวมไปถึงได้มีการหารือบทบาทและหน้าที่ในการประสานงานการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลที่เดินทางด้วยเรือโดยสารขนาดใหญ่ และการจัดทำแผนความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการด้านการค้นหาและช่วยเหลือและเรือโดยสาร (SAR Plan for Cooperation between Search and Rescue Services and Passenger Ship) รวมไปถึงการฝึกซ้อมร่วมกับเรือโดยสาร (Passenger Ship Exercise) และการประชุมเชิงปฏิบัติการการปฏิบัติงานการด้านการแพทย์ฉุกเฉินทางน้ำทางทะเลร่วมกัน เพื่อกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพด้านการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ทั้งนี้ในการบูรณาการร่วมกันระหว่าง สพฉ. และ สกชย. เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยเมื่อเกิดเหตุ และการกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure : SOP) ร่วมกัน จะส่งผลให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันถ่วงที นับเป็นโอกาสอันดีที่ สกชย. ได้ปฏิบัติงานร่วมกันกับ สพฉ. เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบการค้นหาและช่วยเหลือของประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพและดียิ่งขึ้น และเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO ) และมาตรฐานขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO)