ตามที่ กองทัพอากาศ โดย กองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ได้มีหนังสือ ที่ กห 0628/2566 ขอเยี่ยมชมกิจการของสำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลือเรือที่ประสบภัย ในวันที่ 2 ต.ค. 2566 ระหว่างเวลา 13:30 น. – 16:00 น. โดยมี พล.อ.ต. พิสิษฐ์ ด่านอนุพันธ์ ผู้บัญชาการศูนย์ค้นหาและช่วยชีวิต กองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ เป็นหัวหน้าคณะฯ นั้น

นายพัลลภ สังข์ศิลป์เลิศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลือเรือที่ประสบภัย พร้อมด้วย พันตำรวจโทพิทักษ์ เริงพิทักษ์ หัวหน้าฝ่ายประสานการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยาน
และเรือที่ประสบภัย และนางสาวนันท์ณิภัค นันทวัฒน์วงศ์ นักวิชาการขนส่งชำนาญการ รักษาการหัวหน้าฝ่ายวิชาการและกำกับมาตรฐาน ได้กล่าวต้อนรับและบรรยายบทบาทและหน้าที่ รวมถึงการดำเนินงานของ สกชย.
ให้ ทอ. ทราบ รวมทั้งได้มีการหารืออย่างไม่เป็นทางการเรื่องการฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย ประจำปี 2567 (SAREX 2024) ที่ ทอ. ได้รับมอบหมายเป็นแกนกลางในการจัดการฝึกซ้อมฯ โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้

  1. วัตถุประสงค์ของการฝึกซ้อมฯ

1.1 เพื่อทดสอบการติดต่อประสานงานในทุกระดับที่เป็นไปตามแผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564

1.2 เพื่อทดสอบการวางแผนด้านการค้นหาผู้ประสบภัยที่เป็นไปตามแผนการค้นหา
และช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564

1.3 เพื่อทดสอบการจัดตั้งกองอำนวยการให้มีโครงสร้างหน่วยงานเมื่อเกิดเหตุประสบภัยขนาดใหญ่ ที่เป็นไปตามแผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564

  1. แนวคิดการฝึกซ้อมฯ จะสมมติสถานการณ์อากาศยานขนาดใหญ่เกิดอุบัติเหตุ (Mass Rescue Operation) โดยแบ่ง Phase การฝึกซ้อมฯ ออกเป็น 4 Phase ได้แก่

2.1 การแจ้งเตือน โดย สกชย.

2.2 การค้นหา โดย ทอ.

2.3 การช่วยเหลือและกู้ภัย โดย ผวจ.

2.4 การส่งกลับทางการแพทย์ โดย ผวจ.

  1. สถานที่จัดการฝึกซ้อมฯ คือ กองบิน 23 จังหวัดอุดรธานี
  2. แผนการดำเนินการ

4.1 ก.พ. 2567 : จัดประชุม กชย. และมอบหมายให้ ทอ. เป็นแกนกลางในการจัดการฝึกซ้อมฯ

4.2 มี.ค. 2567 : เสนอชื่อแต่งตั้งคณะอนุกรรมการการฝึกซ้อมฯ และดำเนินการด้านงบประมาณ

4.3 เม.ย – ต้นเดือน มิ.ย. 2567 : คณะอนุกรรมการการฝึกซ้อมฯ จัดการประชุมครั้งที่ 1 – 3

4.4 ปลาย มิ.ย. – ต้นเดือน ก.ค. 2567 : จัดการฝึกซ้อม SAREX 2024

4.5 ก.ค. 2567 : ประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 4 สรุปผลการฝึกซ้อม SAREX 2024 และจัดเลี้ยงคณะอนุกรรมการ

  1. กิจกรรมในห้วงการฝึกซ้อมฯ ได้แก่

5.1 การอบรมภาควิชาการ โดย สกชย.

5.2 ทบทวนความรู้ภาควิชาการ โดย สกชย. และ ทอ. ดูแลสถานที่

5.3 การฝึกแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ โดย ทอ.

5.4 การฝึกระบบติดต่อสื่อสาร (Communication Exercise) โดย สกชย.

5.5 การฝึกซ้อมฝ่ายอำนวยการ (Table Top Exercise หรือ Coordinating Exercise) โดย ทอ.

5.6 การฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise) โดย ทอ.

5.7 การสาธิตการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (SAR Demonstration) ใช้เวลาประมาณ 40 นาที

5.8 การตั้งแสดงอากาศยาน (Static Display) โดย ทอ.

5.9 การจัดนิทรรศการ (Exhibition) โดย ทอ.

ทอ. ได้แจ้งกำหนดการที่จะเข้ามาเยี่ยมชม สกชย. เพื่อหารือเตรียมการฝึกซ้อมฯ อีกครั้งในปลายเดือน ต.ค. 2566 และได้เชิญผู้แทน สกชย. เพื่อเข้าร่วมการจัดการฝึกซ้อม SAREX ภายในของ ทอ. ในเดือน พ.ค. 2567 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ทั้งนี้ ทอ. ได้เยี่ยมชมศูนย์ประสานงานค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย (BKK RCC) และศูนย์ควบคุมภารกิจการค้นหาด้วยดาวเทียม (MCC) โดยเจ้าหน้าที่ สกชย. ได้อธิบายการปฏิบัติหน้าที่ RCC และภาพรวมของระบบการทำงานของดาวเทียม COSPAS-SARSAT หลังจากนั้นได้ถ่ายภาพร่วมกันก่อน
คณะ ทอ. เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ