สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือ
ที่ประสบภัย (สกชย.) ได้รับเกียรติจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) เข้าร่วมเป็นผู้ประเมินผลการซ้อมแผนฉุกเฉิน ทสภ. ที่จัดขึ้นในวันที่ 8 มิถุนายน 2566 โดยมีเจ้าหน้าที่ สกชย. ได้แก่ พ.ต.ท.พิทักษ์ เริงพิทักษ์ หัวหน้าฝ่ายประสานการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย น.ส.นันท์ณิภัค นันทวัฒน์วงษ์ นักวิชาการขนส่งชำนาญการ น.ส.กัญรดา รัตนปริญญา นักวิชาการขนส่งปฏิบัติการ และ น.ส.อวัสดา โพธิ์ประทับ นักวิชาการขนส่งปฏิบัติการ เข้าร่วมเป็นผู้ประเมินผลการฝึกซ้อมด้านการช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย

ในวันที่ 8 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ร่วมกับคณะกรรมการฉุกเฉินสนามบิน ทสภ. ประกอบด้วย ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ตำรวจภูธรจังหวัดสมุทรปราการ สถานีตำรวจภูธรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ฯลฯ จัดฝึกซ้อมเต็มรูปแบบ (Full Scale Exercise) ตามแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุของสนามบิน ประจำปี 2566 (SEMEX-23) กรณีอากาศยานอุบัติเหตุและการแทรกแซงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยการฝึกซ้อมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อทดสอบความสมบูรณ์ของแผนฉุกเฉิน ทสภ. และแผนเผชิญเหตุของสนามบิน ทสภ. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน
ทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอก ทสภ. ที่เกี่ยวข้องบูรณาการการทำงานร่วมกัน ให้เกิดความเข้าใจและทราบข้อเท็จจริง รวมทั้งปัญหาในการบริหารจัดการกำลังพล และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการทดสอบความรวดเร็ว ถูกต้อง ในเรื่องการควบคุมสั่งการ (Command) การติดต่อสื่อสาร (Communication) และการประสาน
การปฏิบัติ (Co-ordination) ระหว่างหน่วยที่เกี่ยวข้องตามแผนผังการแจ้งเหตุให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ในการนี้ ทสภ. ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล กองทัพอากาศ สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือ
ที่ประสบภัย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โรงพยาบาลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ คณะกรรมการดำเนินงานธุรกิจการบินกรุงเทพ (AOC) สายงานมาตรฐานท่าอากาศยานและการบิน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ฯลฯ เข้าร่วมสังเกตการณ์และประเมินผลการฝึกซ้อม เพื่อพิจารณาหาข้อบกพร่องของการปฏิบัติ
ในการฝึกซ้อม และนำไปศึกษาวิเคราะห์สำหรับนำไปปรับปรุงแผนฉุกเฉินและแผนเผชิญเหตุของสนามบิน ทสภ. ต่อไป